ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (อังกฤษ: Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)

ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ)

ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป

โครงการไฟร์ฟอกซ์ริเริ่มโดย เดฟ ไฮแอตต์ และ เบลก รอสส์ จากแนวความคิดการสร้างซอฟต์แวร์แยกย่อยมาจากโครงการมอซิลลา โดยตั้งใจพัฒนาโปรแกรมเดี่ยวที่ทำงานมุ่งเน้นสำหรับเป็นเว็บเบราว์เซอร์แยกออกมาจากโปรแกรมชุดมอซิลลา (Mozilla Suite) โดยในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2546 มูลนิธิมอซิลลาได้ประกาศแผนการพัฒนามุ่งเน้นไปที่ไฟร์ฟอกซ์และทันเดอร์เบิร์ดแทนที่โปรแกรมชุดมอซิลลา

ชื่อโครงการได้มีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้งกว่าจะมาเป็นไฟร์ฟอกซ์ ซึ่งเริ่มต้นที่ชื่อ "ฟีนิกซ์" (Phoenix) ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนภายหลังจากมีปัญหาในด้านเครื่องหมายการค้ากับบริษัทฟีนิกซ์เทคโนโลยีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไบออส โดยเปลี่ยนมาเป็นชื่อ "ไฟร์เบิร์ด" (Firebird) และอีกครั้งได้มีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับระบบจัดการฐานข้อมูลไฟร์เบิร์ด และในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ทางมูลนิธิมอซิลลาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งมาเป็น "ไฟร์ฟอกซ์" (Firefox) โดยใช้ชื่อย่อว่า Fx หรือ fx

ไฟร์ฟอกซ์ 1.0 ได้เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดยระหว่างนั้นได้มีการปรับแก้ตลอดเวลารวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยให้กับตัวซอฟต์แวร์ โดยรุ่นถัดมาคือ ไฟร์ฟอกซ์ 1.5 ที่ออกมาเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และตามมาด้วย ไฟร์ฟอกซ์ 2 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งในปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์ 3 กำลังอยู่ในขั้นทดสอบ

ผู้นำโครงการปัจจุบันคือ เบน กูดเจอร์ (Ben Goodger - ปัจจุบันเป็นพนักงานของกูเกิล แต่ยังคงทำหน้าที่นี้อยู่) ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด และปริมาณการใช้ในแถบยุโรปสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฟินแลนด์

สัญลักษณ์ของไฟร์ฟอกซ์ออกแบบโดย จอน ฮิกส์ ถึงแม้ว่าตัวโปรแกรมจะเป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส แต่สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของมูลนิธิมอซิลลา ดังนั้นผู้อื่นที่เผยแพร่ซอฟต์แวร์นี้จึงไม่สามารถใช้สัญลักษณ์นี้ได้ (เช่น ไฟร์ฟอกซ์ของโครงการเดเบียน เป็นต้น)

ไฟร์ฟอกซ์รุ่น 1-2 ไม่รองรับการตัดคำภาษาไทยเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ โดยในข้อความภาษาไทยตัดจะเฉพาะตำแหน่งอักขระช่องว่างหรือเครื่องหมายวรรคตอนเท่านั้น (เนื่องจากพจนานุกรมภาษาไทยที่ใช้สำหรับตัดคำจะทำให้ขนาดโปรแกรมใหญ่ขึ้น) เนื้อหาภาษาไทยจึงมักจะทะลุขอบด้านขวาออกไป อย่างไรก็ตามตัวโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้ดี ทั้งการเข้ารหัสแบบยูนิโคด และรหัสแปดบิตคือ TIS-620 ISO-8859-11 Windows-874 เหมือนเว็บเบราว์เซอร์อื่นทั่วไป กลุ่มลีนุกซ์ไทยและอาสาสมัครอิสระได้พัฒนาไฟร์ฟอกซ์แยกออกมา และมีการพัฒนาแอดออนเพื่อการตัดคำภาษาไทยสำหรับรุ่นก่อนได้แก่

ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์รุ่น 3 เป็นต้นไป ไม่ต้องใช้แอดออนเหล่านี้แล้ว สามารถรองรับการตัดคำได้เป็นอย่างดี และมีหน้าตาภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

ไฟร์ฟอกซ์ มีความสามารถที่แตกต่างจากเบราว์เซอร์ตัวอื่น ในขณะเดียวกันก็ขาดคุณสมบัติบางประการที่มีในเบราว์เซอร์ตัวอื่น ๆ เช่นกัน เพื่อให้ขนาดไฟล์มีขนาดเล็ก นอกจากความสามารถหลัก ไฟร์ฟอกซ์สนับสนุนความสามารถเสริมอื่น ๆ ด้วยกัน 3 ส่วนที่พัฒนาแยกออกมาจากตัวโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ ได้แก่ เอกซ์เทนชัน (extension), ธีม (theme), ปลั๊กอิน (plugin) โดยความสามารถเสริมนี้ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ หรือสามารถพัฒนาของตัวเองได้

ไลฟ์บุ๊กมาร์ก (Live Bookmarks) เป็นบุ๊กมาร์กที่มีการอัปเดตตลอดเวลา ใช้สำหรับในการอ่านข้อมูลจาก RSS หรือ อะตอม ได้โดยตรง โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเข้าไปอ่านในเว็บนั้น ๆ ข้อมูลต่อไปนี้ได้แก่ ข้อมูลข่าวจากเว็บต่างๆ ข้อมูลพยากรณ์อากาศ ข้อมูลจากบล็อก หรือข้อมูลจาก เว็บบอร์ด โดยในแต่ละเว็บที่มีการให้บริการจะมีสัญลักษณ์ RSS หรือ Atom ปรากฏไว้ในเว็บนั้น

ตัวอย่างการใช้งานเช่นการฟีดข้อมูลจากเว็บข่าว เว็บบอร์ด หรือเว็บใดก็ตามที่สนับสนุนระบบ RSS หรือ อะตอม โดยเมื่อใส่ข้อมูลเข้าไปในบุกมาร์กแล้ว เวลาเรียกใช้เพียงกดเข้าไปที่บุกมาร์กนั้น และหัวข้อของเว็บปลายทางจะปรากฏ

สามารถใช้ความสามารถของเสิร์ชเอนจิน ได้โดยผ่านทางไฟร์ฟอกซ์โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บนั้นๆ เอนจินหลักที่เห็นได้แก่ กูเกิล, ยาฮู! วิกิพีเดีย, IMDB นอกจากนี้เสิร์ชเอนจินในไฟร์ฟอกซ์สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้

ด้วยความสามารถของแท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าเว็บเพจได้หลาย ๆ หน้า ภายในหน้าจอเดียวกัน (โดยใช้เมาส์ปุ่มกลาง) ในแต่ละหน้าจะแบ่งแยกเป็นแท็บ โดยความสามารถนี้ ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจหลายหน้าพร้อมกันจากบุคมาร์ก ในทีเดียวนอกจากในไฟร์ฟอกซ์ แท็บด์เบราว์ซิงยังมีใน ซาฟารี เนตสเคป นาวิเกเตอร์ รุ่น 8.0 และในอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7.0

ความสามารถในการบล็อกป๊อปอัพ (การป้องกันไม่ให้เว็บเพจเปิดหน้าต่างใหม่เองโดยไม่ได้รับอนุญาต) โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริม เริ่มมีในไฟร์ฟ็อกซ์รุ่นเบต้า ความสามารถนี้สามารถเลือกที่จะใช้กับทุกเว็บไซต์ หรือแค่บางเว็บไซต์ได้ ซึ่งต่อมาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ในวินโดวส์เอกซ์พี SP2 ได้เพิ่มความสามารถนี้เข้าไปด้วยเช่นกัน

ผู้จัดการดาวน์โหลด (Download manager) จัดการไฟล์ที่ดาวน์โหลดทั้งหมด สามารถเลือกได้ระหว่างการเปิดใช้ หรือว่าการจัดเก็บลงในเครื่อง และสามารถดูย้อนหลังได้โดยว่า ไฟล์อะไรบ้างที่ได้ดาวน์โหลดมา และจัดเก็บไว้ที่ใด

ส่วนขยาย (Extension) เป็นความสามารถเพิ่มเติม ที่ผู้พัฒนาอื่น ๆ สร้างขึ้นเพื่อเสริมความสามารถของไฟร์ฟอกซ์ ตัวอย่างของส่วนขยายได้แก่

ชุดตกแต่ง (theme) เป็นลักษณะหน้าตาของไฟร์ฟอกซ์ โดยบางคราวจะเรียกว่า สกิน (skin) หรือ หน้ากากของเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งมีให้ดาวน์โหลดได้

มูลนิธิมอซิลลายึดถือมาตรฐานเว็บโดยองค์กร W3C โดยในโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ ได้ยึดมาตรฐาน HTML, XML, XHTML, CSS, JavaScript, DOM, MathML, XSL และ XPath ซึ่งเป็นมาตรฐานหลัก นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานอื่น ๆ ที่ไฟร์ฟอกซ์สนับสนุน ได้แก่ RDF, XUL, XBL และ XTF

สำหรับรูปภาพ ไฟร์ฟอกซ์รับรองลักษณะไฟล์ภาพมาตรฐานที่แพร่หลายเช่น JPG GIF รวมถึง PNG ที่สนับสนุนภาพที่มีฉากหลังโปร่ง ซึ่งปัจจุบันใช้แทนที่ภาพแบบ GIF กันมากขึ้น (เนื่องจาก GIF มีปัญหาด้านสิทธิบัตร)

สำหรับมาตรฐานอื่นที่ไฟร์ฟอกซ์รุ่นปัจจุบันยังไม่รองรับเต็มที่ แต่มีโครงการพัฒนาในรุ่นต่อไป ได้แก่ SVG, APNG และ XForms

เนื่องจากไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส ทำให้ผู้ใช้และนักพัฒนาสามารถปรับแต่งให้ไฟร์ฟอกซ์ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ โซลาริส (ทั้ง x86 และ SPARC) , โอเอส/2, AIX, FreeBSD


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406